เรื่องราวดีๆจาก "ลุงดอน"

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คิดให้ดี! เรียนและทำงานสายงานไอที (IT)


โลกเราทุกวันนี้ มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนทีอยู่ตลอดเวลา ในรอบ 2-5 ปี จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากมาย และเมื่อครบ 10 ปี หรือ 1 ทศวรรษ ก็จะเกิดการปฏิวัติวงการนวัตกรรมไอทีเกิดขึ้น คอมพิวเตอร์มีบทบาทมากในอดีต แต่ปัจจุบัน Smartphone & Tablet คือปัจจัยพื้นฐานขอมมนุษย์ และแน่นอนการพิมพ์เร็ว และซ่อมคอมฯเบื้องต้น ที่เป็นตัวชี้วัดในสมัยก่อนใช้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะมีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไปอย่างเป็นวัฒนธรรม

เด็กสมัยนี้เรียนรู้ไวมาก ไม่ใช่เพราะเด็กฉลาด แต่เพราะผู้พัฒนาระบบ Hardware & Software ได้ศึกษาและนำบทเรียนต่างๆมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ใช้งานง่ายขึ้นจากเดิมเป็น Pattern GUI (Graphic User Interface) มาถึงปัจจุบันก็ยังคงพัฒนาคุณลักษณะเด่นที่ตอบสนอง (Interface End User) และแน่นอนว่าคุณแม่ คุณป้า ก็ยังสามารถที่ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมันถูกออกแบบให้ง่าย แค่ใช้มันทุกวัน วันแล้ววันเล่า ก็ชำนาญไปเอง 

เคยสังเกตุไหมว่า คนที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ มีหลายแขนง และในทางตรงกันข้ามคนที่ไม่ได้เรียนสายวิชาชีพคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ต่างกัน หรือเด่นกว่า เพราะความชื่นชอบ และมีปัจจัยทรัพยากรเอื้ออำนวย  ผมเคยได้คุยกับผู้ประกอบการหลายคน และจะได้ยินคำถามว่า "จบอะไรมา?" ซึ่งเป็นคำถามที่... Basic มาก เมื่อชีวิตคนเราส่วนใหญ่ทำงานในสายวิชาชีพที่ไม่ได้จบมาด้วยซ้ำ มันจะแปลกอะไรสำหรับคำถาม ในเมื่อคนถามยังไม่เข้าใจในคำถาม แม้ตอบไปก็...

จบอะไรกันบ้าง? ในสายงานไอที
- คอมพิวเตอร์เพื่ออุตสาหกรรม
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
- คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
- วิศวะคอมพิวเตอร์
- สถาปัตยกรรม
- Programmer
- Graphic Designner
- Network & Security 
- Photography & Multimedia Sign
- Gamer Developer
- ฯลฯ 

มีหลากหลายแขนงวิชาที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แล้วต้องคำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง? ต้นทุนการศึกษา อัตราการแข่งกัน และรายได้ผลสัมฤทธ์  ...เอออใช่ที่สำคัญ "ความยั่งยืน" ของสายงาน  หลายคนยังขาดการวิเคราะห์กับสายการเรียนของตัวเอง ว่าจบแล้วมีแนวโน้มจะทำอะไร คาดการณ์รายได้เท่าไหร่? ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ในแต่ละปีคนที่จบสายงานคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 150,000 รายต่อปี  แค่เห็นตัวเลขแล้วยังคิดไม่ออกเลยว่าตัวเองจะไปอยู่จุดไหนของประเทศ 

สำหรับงานไอทีมีบททดสอบบางสิ่งที่คุณต้องตอบและทำได้ เมื่อมีคนถาม
1. เขียนโปรแกรมเป็นไหม และใช้โปรแกรมอะไร ?
2. ออกแบบเว็บไซต์ได้ไหม ? 
3. ประกอบคอมได้ไหม ?
4. Maintenance Hardware & Software ได้หรือไม่ ?
5. แชร์ Com & Printer ได้ไหม ? 
6. จั๋มสาย Lan และ Config Router ได้ไหม ? 

แล้วอะไรที่หายไป... หึหึ Microsoft Office พิมพ์งาน Word , Excel, Powerpoint หายไปสนิทสำหรับองค์กรยุกต์ Smart Office  โดยปัจจุบัน แม่บ้านทำทำความสะอาดสำนักงานก็ใช้ MS-Office ได้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว 

หากคุณเรียนสายวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ ต้องถามตัวเองก่อนว่าจริงใจกับมันแค่ไหน เพราะเมื่อเรียนจบมาแล้ว มี 2 เส้นทางใหญ่ๆให้เลือก คือ สายวิชาชีพคอมพิวเตอร์ และ สายงานสนับสนุนฯ   เอ๋ะ! ยังงัยกัน... คุณอย่าบ้ายอไปนะครับ เรื่องนี้เรื่องใหญ่กันเลยทีเดียว ชีวิตทั้งชีวิตที่จะปักหลักทำงานสัมมาอาชีพ ความก้าวหน้าของสายงาน เหมือนคุณจะเป็นพระเอก,นางเอก หรือตัวประกอบ ประมาณนั้น

มันไม่ได้สวยหรูอย่างที่เหตุเสมอไปหรอกนะครับ วิศวะคอมฯ เรียนจบทำงาน Start ประมาณ 23,000 บ.ขึ้นไป หรือ Programmer Start ประมาณ 25,000 บ.ขึ้นไป , Web Graphic Design Start ประมาณ 18,500 บ. ขึ้นไป  IT Support Start ประมาณ 15,000 บ.ขึ้นไป  ราคาในแต่ละภูมิภาคก็แตกต่างกันไป และประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ ก็เป็นอีกองค์ประกอบในการพิจารณ์เงินเดือน เมื่อเข้าทำงานในสายวิชาชีพโดยตรงก็จะเริมต้นตั้งแต่ตำแหน่ง Junior ไปถึงระดับ Senior แต่ถว่ามีคนกลุ่มใหญ่หลายคนอยู่ในสายงานสนับสนุน เช่น อยู่ในหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ หรือ กลุ่มองค์กรที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานไอทีโดยตรง ก็ไม่แน่ชัดว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างไร นอกจากจะวัดจากอายุการทำงาน เพราะไม่ได้มีผลงาน Priority มาเป็นตัวชี้วัด

ลองคิดเล่นๆดูนะครับ ว่าถ้าคุณอายุ 35 ปี คุณอาจจะทำงานอย่างมีความสุข แล้วหลับตาจินตาการณ์ภาพไปอีกสิบปี เมื่ออายุ 45-50 ปี แน่นอนเราอาจจะทำอะไรซ้ำๆเดิมเป็น Routine มีความชำนาญเพิ่มขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะมีตัวแปรตามในเรื่องของสวัสดิการ หากเรามีครอบครัว และมีภาระหนี้สินจุกจิก เราอาจจะพัฒนาความรู้ให้สูงขึ้นในภาระงานตามนโยบายขององค์กร  ส่วนผมเองจากการสอบถามกลุ่มเพื่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ส่วนใหญ่ จะต้องแบ่งศักยภาพของตัวเองเพื่อมารับงานเสริม Part Time (Outsource) ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา บ้างก็มีความฝันที่จะผันตัวเองเป็นผู้ประกอบการ เพราะคิดว่าตัวเองมาสุดทางหรือจุดอิ่มตัว  เรื่องนี้..เป็นแนวคิดสำคัญของฝ่ายบริหารทรัพยากรฯ และผู้บริหารขององค์กร  มันดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง แต่ถือเป็นช่องโหว่ของการจัดการทรัพยากรในองค์กร

สายงานคอมพิวเตอร์ แต่เวลาทำงานจริง ไม่ตรงกับ Job Description ไม่ต้องบ่นว่าเวร.. คิดตรงกันข้าม ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ สิ่งเล็กๆน้อยๆที่มนุษย์ทำได้ ก็ไม่เหนือบากกว่าแรง ขอช่วยให้ทำ ก็เป็นเรื่องธรรมดา ทำได้แน่นอน แต่จะสั่งให้ทำบ่อยจนเป็นนิสัย หรือ แยกแยะความสำคัญของงานไม่ออก หลายที่ก็เป็นแบบนี้ เลยยกตัวอย่างให้เห็นว่าแท้จริงการทำงานไม่ได้แค่ทำงานเกี่ยวของกับเราเพียงเท่านั้น เรายังมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับหัวหน้างาน หรือ ลูกน้อง หรือที่เรียกว่า 'น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า' ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ยังงัยก็คิดวิเคราะห์ให้ดีนะครับ



By.DonExpert.Blogspot // เพื่อคนทำงานสายงานไอที (IT)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ