การทำทานปัจจุบันเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยเรานั้นมุ่งเน้นปฏิบัติกันด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป และคนส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่าต้องใช้เงินซื้อสังฆทานไปถวายวัด หรือนำเงินไปบริจาคมูลนิธิหรือผู้ยากไร้ ถือว่าไม่แปลกและไม่ผิด เพราะตั้งแต่เด็กเราถูกสอนมาว่าให้ทำบุญ หรือทำทาน มาโดยตลอด แต่เบื้องลึกในจิตใจของการทำทานนั้น ไม่ได้เจาะลึกถึงพื้นฐานของทาน และเหตุผลที่ตกผลึกจากการทำทาน เช่น เอาเงินให้เขา...แล้วเราสบายใจ และการให้โดยมีอคตินั้น เปรียบเหมือนไม่ได้ให้ หรือ ทำทาน 1-2 ครั้ง ขอพรให้รวยเป็นล้าน อย่างไม่มีเหตุผล ฯลฯ เป็นต้น
บางคนยังหลงยึดติดกับอัตตาตัวเองสูงมาก โดยคิดว่าถ้าจะได้บุญเยอะนั้น ต้องใช้เงินเยอะถวาย หรือซื้อแจก ซึ่งปริมาณนั้นอาจไม่ได้เข้าคู่กับบุญกุศลเสมอไป และวัฒนธรรมคนไทยปัจจุบันที่ชอบทำบุญ + เซลฟี่ นำเสนอสู่สาธารณะเป็นเรื่องปกติของคนไทย
การทำทานที่ตัวเราควรพิจารณาก่อนทำมีดังนี้
1. ความบริสุทธิ์ของการให้ทาน
2. เจตนาความปรารถนาที่จะให้ทาน
3. ผู้รับทานที่เหมาะสมควรให้ทาน
4. เวลาและกาละเทศะที่ให้ทาน
ทำบุญเอาหน้า และ ทำบุญหวังผล จะได้อะไร? ถ้าขาดสำนึก เราจะไม่รู้เลยว่าทำบุญให้ทานเพราะอะไร สุดท้ายแล้ว ก็เสมอตัวไม่ได้อะไรเลย แค่อาจเป็นอุปทานทำให้เราสบายใจ แต่ก็ไม่มีตัวชี้วัดที่จับต้องได้ว่าได้บุญกุศล มากน้อยแค่ไหน บางกรณีอาจได้บาปมากกว่าบุญ เพราะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ทำทานต้องใช้เงิน คนส่วนใหญ่ไม่คิดแบบนี้แน่นอน
เพราะฉะนั้น แค่เราปล่อยใจให้บริสุทธิ์ รักษาสุขภาพจิต และมีความคิดเชิงบวกเราก็สามารถได้รับกุศลอันดีงามที่ในชีวิตประจำวันสามารถสร้างได้ดังนี้
1. มีรอยยิ้มให้คนรอบข้าง
2. สร้างความกตัญญูแก่พ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณ
3. แบ่งปันขนมให้เพื่อน
4. ร่วมแรงทำงานในกลุ่มสมาชิก ฯลฯ เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็เป็นทานอันประเสริฐแล้ว ยิ่งทำบ่อยๆนั้น เราจะรู้สึกได้เลยว่า ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น